แชร์

อัปเดตกฎหมายรถบรรทุก 2568 มีอะไรบ้าง ข้อบังคับและบทลงโทษ

อัพเดทล่าสุด: 3 พ.ค. 2025
19 ผู้เข้าชม

    กฎหมายรถบรรทุกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยบนท้องถนนและการขนส่งสินค้าในประเทศไทย การควบคุมดูแลให้รถบรรทุกปฏิบัติตามกฎระเบียบจะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น เราได้รวบรวมข้อกฎหมายสำคัญสำหรับรถบรรทุกที่มีการปรับปรุงในปี 2568 เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ขับขี่ได้รับทราบและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้



ประเภทของรถบรรทุกและน้ำหนักบรรทุกรวม

ตามกฎหมายการขนส่งทางบก มีการแบ่งประเภทรถบรรทุกตามลักษณะและขนาดของรถ โดยแต่ละประเภทจะมีข้อกำหนดเรื่องน้ำหนักบรรทุกที่แตกต่างกัน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและการรักษาสภาพถนน โดยแบ่งได้ดังนี้
  • รถบรรทุก 2 เพลา 4 ล้อ บรรทุกน้ำหนักสูงสุด 9.50 ตัน
  • รถบรรทุก 2 เพลา 6 ล้อ บรรทุกน้ำหนักสูงสุด 15 ตัน
  • รถบรรทุก 2 เพลา 10 ล้อ บรรทุกน้ำหนักสูงสุด 25 ตัน
  • รถบรรทุก 4 เพลา 12 ล้อ บรรทุกน้ำหนักสูงสุด 30 ตัน
  • รถบรรทุก 4 เพลา 14 ล้อ บรรทุกน้ำหนักสูงสุด 35 ตัน
  • รถพ่วง 5 เพลา 18 ล้อ บรรทุกน้ำหนักสูงสุด 45 ตัน
  • รถพ่วง 5 เพลา 18 ล้อ บรรทุกน้ำหนัก 47 ตัน

 


เวลาห้ามวิ่งรถบรรทุก ที่กฎหมายกำหนด

กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดเวลาห้ามวิ่งรถบรรทุกในพื้นที่ต่างๆ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรและเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ผู้ประกอบการและผู้ขับขี่จำเป็นต้องวางแผนการเดินรถให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเหล่านี้

 



ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ในเขตกรุงเทพมหานคร มีการกำหนดเวลาห้ามวิ่งสำหรับรถบรรทุกประเภทต่างๆ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน โดยเฉพาะรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป จะมีข้อจำกัดด้านเวลาในการวิ่งดังนี้

  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเวลา 06:00 09:00 น. และเวลา 16:00 20:00 น. เว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเวลา 06:00 -10:00 น. และ 15:00 21:00 น. เว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุกถังขนก๊าซ,วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง ห้ามเวลา 06:00 22:00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
  • รถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง,เสาเข็ม ห้ามเวลา 06:00 21:00 น.

 


ข้อกำหนดการวิ่งบนทางด่วน

ตามกฎข้อบังคับของทางพิเศษระบุว่ารถบรรทุกที่มีความสูงมากกว่า 4 เมตร และมีความกว้างเกิน 2.5 เมตร หรือมีรัศมีวงเลี้ยวเกิน 12 เมตร จำพวกรถบรรทุกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทางพิเศษ เนื่องจากขนาดรถที่ใหญ่อาจส่งผลให้การเคลื่อนตัวช้า และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้ทางคนอื่นๆ รวมถึงอาจก่อให้เกิดปัญหาการกีดขวางการไหลเวียนของการจราจรบนทางด่วน สำหรับรถบรรทุกที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทางด่วนได้ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเวลาในการวิ่งอย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเวลา 06:00 09:00 น. และ 16:00 20:00 น.
  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเวลา 06:00 09:00 น. และ 15:00 21:00 น.
  • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเดินรถเวลา 06:00 10:00 น. และ 15:00 22:00 น.
  • ส่วนรถบรรทุกที่ไม่ติดเวลาต้องมีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กก. หรือ 2.2 ตัน จึงจะสามารถวิ่งในเขตกรุงเทพฯได้โดยไม่ติดเวลา ซึ่งจะมีเพียงรถบรรทุก 4 ล้อเท้านั้นที่จะน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กก.

 

มาตรฐานความปลอดภัยของรถบรรทุก

นอกเหนือจากเรื่องเวลาการวิ่งแล้ว มาตรฐานความปลอดภัยของรถบรรทุกเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการและผู้ขับขี่ต้องให้ความใส่ใจ ทั้งในด้านสภาพรถ อุปกรณ์ความปลอดภัย และการบำรุงรักษา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง โดยต้องผ่านการตรวจสภาพรถตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด



การควบคุมมลพิษของรถบรรทุก

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดให้รถบรรทุกใหม่ต้องผ่านมาตรฐาน EURO 5 และกำลังเตรียมปรับเป็น EURO 6 เพื่อลดมลพิษทางอากาศ
กรมการขนส่งทางบกกำหนดค่ามาตรฐานควันดำ โดยเป็นการร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีข้อบังคับสำหรับรถทุกประเภทดังนี้

  • ระบบความทึบแสงไม่เกิน 30%
  • ระบบกระดาษกรองไม่เกิน 40%

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2565 หากตรวจพบว่ามีค่าเกินมาตรฐาน จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และสั่งห้ามใช้รถด้วยการพ่นข้อความ ห้ามใช้ จนกว่าเจ้าของรถจะนำรถไปแก้ไขสภาพเครื่องยนต์ ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถนำรถเข้าตรวจวัดค่าควันดำเบื้องต้นได้ที่สำนักงานขนส่ง และสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ฟรี ทั่วประเทศ

 


การตรวจสภาพรถบรรทุกประจำปี

สำหรับเรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสภาพรถบบรทุกประจำปี กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกและรถโดยสาร ประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ต้องทำการบำรุงรักษารถตามระยะเวลาทุก 6 เดือน หรือระยะทาง 40,000 กิโลเมตร (หรือตามระยะทางหรือระยะเวลาที่น้อยกว่าที่ผู้ผลิตรถกำหนดก็ได้) โดยให้นำรถเข้าทำการบำรุงรักษาได้ตามช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์บริการของผู้ผลิตรถ อู่รับซ่อมรถทั่วไป หรือศูนย์ซ่อมของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือเจ้าของรถก็ได้ ซึ่งมีรายการที่ต้องบำรุงรักษา 10 รายการ ดังนี้
  • ระบบเครื่องยนต์
  • ระบบไอเสีย
  • ระบส่งกำลัง
  • ระบบบังคับเลี้ยว
  • ระบห้ามล้อ
  • ระบบรองรับน้ำหนัก
  • ระบบไฟฟ้า ไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณ
  • กงล้อและยาง
  • ตัวถัง
  • ระบบเชื้อเพลิง


ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการบำรุงรักษาตามระยะเพื่อความพร้อมของตัวรถและความปลอดภัยบนท้องถนน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสูดไม่เกิน 50,000 บาท และอาจส่งผลต่อการพิจารณาการต่อใบอนุญาตประกอบการขนส่งต่อไปด้วย


ระบบติดตามยานพาหนะ (GPS)

กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 รถโดยสาร รถลากจูง และรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไปต้องติดตั้ง GPS หรือระบบ GPS Tracking เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการขับรถและการใช้ยานพาหนะกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมขนส่งฯ แบบเรียลไทม์ มาตรการนี้ช่วยในการติดตามพฤติกรรมการขับขี่ ควบคุมความเร็ว และตรวจสอบเส้นทางการเดินรถให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด



บทลงโทษหากไม่ติดตั้งระบบ GPS

หากฝ่าฝืนไม่ติดตั้งระบบ GPS หรือมีการติดตั้งแต่ไม่ได้เชื่อมต่อข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถ จะมีบทลงโทษดังนี้
  • ปรับผู้ประกอบการขนส่งไม่เกิน 50,000 บาท
  • กรณีที่มีการปลอมแปลงหรือแก้ไขข้อมูล GPS มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากตรวจพบว่ามีการปิดหรือทำให้ระบบ GPS ขัดข้องโดยเจตนา มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
  • ในกรณีที่ระบบ GPS ขัดข้อง ผู้ประกอบการต้องแจ้งซ่อมและดำเนินการแก้ไขภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการมีโทษปรับวันละไม่เกิน 1,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
  • หากพบการกระทำผิดซ้ำ กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจในการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้



การปฏิบัติตามกฎหมายรถบรรทุกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทั้งผู้ขับขี่และองค์กร การทำความเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ จะช่วยสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และหลีกเลี่ยงการถูกเปรียบเทียบปรับ ผู้ประกอบการควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของทุกคนบนท้องถนน



ขอบคุณข้อมูลจาก : อัปเดตกฎหมายรถบรรทุก 2568 มีอะไรบ้าง ข้อบังคับและบทลงโทษ

 

บทความอื่นๆ ความรู้ทั่วไป รถบรรทุก ที่น่าสนใจ

 ไม่อยากถูกปรับหลายหมื่น อย่าลืมผ้าคลุมรถบรรทุก

 ดอกยางรถบรรทุกมีกี่ประเภท ยางรถบรรทุกแบบไหนป้องกันอะไรบ้าง?

 ขับรถบรรทุก ต้องเตรียมตัวอย่างไร

 7 เทคนิคการขับรถบรรทุกได้อย่างมืออาชีพ

 5 เทคนิคขับรถบรรทุกใหญ่ ให้ปลอดภัยในอุโมงค์มืด


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy