อุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายในรถบรรทุก
เหล็กกันมอไซค์ กันชนท้ายรถบรรทุก การ์ดเหล็กด้านข้าง อุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง อุปกรณ์ป้องกันด้านท้าย
กรมการขนส่งทางบกได้ยกระดับความปลอดภัยของรถบรรทุก โดยกำหนดให้รถบรรทุกต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง(LPD) และด้านท้าย(RUPD) ให้มีคุณลักษณะ ขนาด ประสิทธิภาพ ตำแหน่ง เป็นไปตามเงื่อนไขในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ.2566 ที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัมขึ้นไป (ยกเว้นรถที่มีการใช้งานเฉพาะกิจบางลักษณะ) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนที่เกิดจากการมีช่องว่างใต้ท้องรถ (ลดโอกาสที่คนหรือรถเข้าไปใต้ท้องรถบรรทุกกรณีเกิดอุบัติเหตุ)
มีผมบังคับใช้กับรถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป และต้องมีหนังสือรับรองอุปกรณ์ป้องกันจากผู้ติดตั้งว่าเป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบหรือเป็นไปตามแบบมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกและติดตั้งมีความมั่นคงแข็งแรง
1.ตำแหน่งอุปกรณ์ด้านข้าง
การติดตั้งในรถลักษณะ 1 ลักษณะ 2 ลักษณะ 3 ลักษณะ 4 และ ลักษณะ 5
การติดตั้งในรถลักษณะ 1
การติดตั้งในรถลักษณะ 6 (รถพ่วงที่มีเพลาล้อตรงกลาง)
การติดตั้งในรถลักษณะ 7
ระยะของผิวนอกสุดของอุปกรณ์ฯ เมื่อติดตั้งเข้าด้านในตัวถังของรถทุกลักษณะ
2.ระยะห่างขอบด้านบนของอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างเมื่อมีการติดตั้งกับตัวถังรูปทรงอื่น
กรณีมีจุดตัด
กรณีไม่มีจุดตัด (เช่น รถบรรทุกตู้สินค้า หรือตัวถังเคลื่อนย้ายได้)
3.ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านท้าย
ระยะ M เสมอขอบยางหรือลึกเข้าไปจากขอบยางไม่เกิน 100 มิลลิเมตร และระยะการติดตั้งอื่นเป็นไปตามลักษณะรถ ดังนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://trucks.com/law-lpd-rupd.php
บทความอื่นๆ ความรู้ทั่วไป รถบรรทุก ที่น่าสนใจ
รู้จัก เทเลเมติกส์ เทคโนโลยีลดอุบัติเหตุรถยนต์
3 สัญญาณเตือน "ช่วงล่าง" ต้องรีบเช็ค
5 วิธีเคลียร์ฝ้ากระจกรถช่วงหน้าฝน
ประเภทของรถบรรทุกวัตถุอันตราย และป้ายสัญลักษณ์วัตถุอันตรายต่าง ๆ